top of page

ตารางการอบรม “นักแปลอาชีพ-อาชีพนักแปล” รุ่น ๕

ระหว่างวันเสาร์ ที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ – อาทิตย์ ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘

ณ ห้องประชุมสปาฟา ถนนศรีอยุธยา กรุงเทพฯ จัดโดยสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย

ค่าอบรมเฉพาะสมาชิกตลอดชีพ ๑๒,๐๐๐ บาท รับไม่เกิน ๒๕ คน

  • สัปดาห์ที่ ๑ เสาร์ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ และ อาทิตย์ ๑ มีนาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.สถาพร ฉันท์ประสูตรและอ.ผ่องศรี ลือพร้อมชัย -ภาษาไทยเพื่อการแปล

ปรับพื้นฐานภาษาไทยด้วยหลักไวยากรณ์ไทยแท้ (มูลบทบรรพกิจ) บรรยายด้วยภาษาร่วมสมัย ผู้เข้าอบรมตอบคำถามปริศนาสนุก ๆ จนเข้าใจสาระสำคัญของหลักภาษาไทย

เรียนรู้ศิลปะการใช้ภาษาไทยที่เหมาะสม

รู้เท่าเข้าใจนักแปล

เรียนรู้คุณสมบัติของนักแปล วิธีหางาน วิธีการทำงานเบื้องต้น ฯลฯ ตลอดจนการทำงานร่วมกับบรรณาธิการ

  • สัปดาห์ที่ ๒ เสาร์ ๗ มีนาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๘ มีนาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.สถาพร ฉันท์ประสูตรและอ.ผ่องศรี ลือพร้อมชัย –ศิลปะการทำความเข้าใจต้นฉบับภาษาไทย

ศึกษาโดยใช้ตัวบทจากบทความ เรื่องสั้น วรรณคดีไทยบางตอน เช่น รามเกียรติ์ ตอนจองถนน

  • สัปดาห์ที่ ๓ เสาร์ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.สถาพร ฉันท์ประสูตรและอ.ผ่องศรี ลือพร้อมชัย –ศิลปะการทำความเข้าใจต้นฉบับภาษาอังกฤษ

ศึกษาโดยใช้ตัวบทจากบทความ เรื่องสั้น เพลง เช่น My heart is slow to learn

  • สัปดาห์ที่ ๔ เสาร์ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.สถาพร ฉันท์ประสูตรและอ.ผ่องศรี ลือพร้อมชัย –ศิลปะการแปลขั้นพื้นฐาน

เรียนรู้การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียน (และตัวละคร) เป็นภาษาไทยที่เหมาะสม ได้รสคำงามรสความชัด โดยฝึกแปลบทความ เรื่องสั้น และเพลง

  • สัปดาห์ที่ ๕ เสาร์ ๒๘ มีนาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.ปกรณ์ กฤษประจันต์ – การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยแปล

แนะนำการใช้เครื่องมือพื้นฐานในคอมพิวเตอร์ที่เป็นประโยชน์กับนักแปล – การจัดระเบียบข้อมูล การใช้โปรแกรมประยุกต์ทั่วไป และการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลการแปลเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หมายเหตุ

วันเสาร์ที่ ๔ เมษายนและวันอาทิตย์ที่ ๕ เมษายน

วันเสาร์ที่ ๑๑ เมษายนและวันอาทิตย์ที่ ๑๒ เมษายน

เสาร์ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๗ และอาทิตย์ ๑๙ เมษายน

งดการอบรม เนื่องจากวันจันทร์ที่ ๖ เป็นวันจักรี และวันพุธที่ ๘ เป็นวันมาฆบูชา

งดการอบรม เนื่องจากเทศกาลสงกรานต์

งดการอบรม เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ ๑๙ เมษายน สมาคมฯ จัดงานวันนักแปลที่หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี

  • สัปดาห์ที่ ๖ เสาร์ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๒๖ เมษายน ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.วิฑูรย์ ภูริปัญญวานิช – แปลบทความทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะต้องแปลได้ถูกต้อง ไม่ขาด ไม่เกินโดยจะใช้ต้นฉบับจากบทความของ Reader's Digest เป็นหลัก และเสริมด้วยข้อคิดเห็นที่นักแปลควรรู้จากประสบการณ์แปลของผู้สอน

  • สัปดาห์ที่ ๗ เสาร์ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.ชณัณกร เพ็ชรวัฒนา – ความรู้ทั่วไปในการแปลสารคดี (non-fiction) แบบฝึกหัดลับสมอง การเลือกใช้คำภาษาไทยในการแปลสารคดี การแปลปากเปล่าเพื่อเข้าใจภาพรวมในงานแปล การทำเชิงอรรถในการแปลสารคดี สิ่งเสริมบารมีนักแปล การทำแบบฝึกหัดแปลสารคดีอังกฤษ-ไทย สนามงานแปล ฯลฯ

  • สัปดาห์ที่ ๘ เสาร์ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.ชณัณกร เพ็ชรวัฒนา – หลักการตั้งชื่อเรื่อง ปัญหาในการแปลงานสารคดีไทย–อังกฤษ ทบทวนหลักภาษาเพื่อใช้ในการแปลสารคดีไทย-อังกฤษ การวิเคราะห์งานสารคดีในเชิงภาษา ฝึกทักษะการเขียน-การแปลงานสารคดี อังกฤษ-ไทย ไทย-อังกฤษ ด้วยหนังสือแปลเล่มโปรด ฯลฯ

  • สัปดาห์ที่ ๙ เสาร์ ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.สุรพันธ์ วิโรจน์ดุลย์–แปลเอกสารธุรกิจ/วิชาการ อังกฤษ-ไทย, คุณสมบัติของนักแปลวิชาการ, ความแตกต่างระหว่างแปลวิชาการและบันเทิงคดี, เคล็ดการแปลเอกสารธุรกิจ/วิชาการ

  • สัปดาห์ที่ ๑๐ เสาร์ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ และอาทิตย์ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ๙.๐๐-๑๖.๐๐ น.

อ.จงจิต อรรถยุกติ–กรณีศึกษางานแปลวรรณกรรม

พินิจพิเคราะห์ต้นฉบับกับบทแปลโดยอธิบายวิธีคิดอย่างละเอียดเรื่องการแปลความและการเฟ้นคำ

ผู้อำนวยการหลักสูตร: อ.จงจิต อรรถยุกติ โทรศัพท์ ๐๘๑ ๘๑๑ ๘๔๘๙, ๐๒ ๕๙๔ ๓๔๗๙

ผู้ประสานงานหลักสูตร: อ.ผ่องศรี ลือพร้อมชัย pongsri19@yahoo.com, tiatprograms@gmail.com

Typewriter

Featured Posts
bottom of page